Thursday 12 August 2010

โดเมนเนมคืออะไร แล้วจะจดโดเมนที่ไหนดี

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (อังกฤษ: domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ

1. .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
2. .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
3. .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ

1. .co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
2. .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
3. .ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
4. .go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
5. .in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน


1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน

จดโดเมนเนมแล้วใครเป็นเจ้าของ?

ปัญหาในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของโดเมนเนมมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาโต้เถียงกัน เสมอเนื่องจากการขาดความเข้าใจในเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังการจดและ วิธีการตรวจสอบ จะรู้ได้อย่างไรว่าเงินที่เสียไปถูกนำไปจดเป็นโดเมนเนมที่เรามีสิทธิเป็น เจ้าของจริง ไม่ใช่จดในนามของผู้ให้บริการรับจดซึ่งอาจมีการนำโดเมนเนมไปขายต่อให้แก่ บุคคลอื่นหรืออาจนำกลับมาเสนอขายให้ซื้อใหม่หากเว็บไซต์ นั้นๆ ประสบความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าราคาของโดเมนเนมนั้นย่อมมีมูลค่าสูงขึ้น หรือจะรู้ได้อย่างไรว่าการที่จ่ายเงินซื้อโดเมนเนมเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปีแล้ว จะไม่ถูกผู้รับจดฉ้อโกงโดยนำเงินที่ได้มาล่วงหน้าไปหมุนใช้แล้วค่อยหามาต่อ สัญญาเป็นรายปีให้ในภายหลัง ซึ่งหากบริษัทผู้รับจดเลิกกิจการไปก็หมายความว่าสิทธิในความเป็นเจ้าของโด เมนเนมก็จะเหลืออยู่เท่ากับระยะเวลาสัญญาที่ผู้ให้บริการรับจดได้จดเอาไว้ เท่านั้น และผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้าของโดเมนเนมที่จะต้องควักกระเป๋า จ่ายเพื่อต่ออายุโดเมนเนมอีกครั้ง การตรวจสอบปัญหาต่างๆ ดังกล่าวมานี้ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกระบวนการต่อไปนี้

ในการจดโดเมนเนม สิ่งแรกที่จะต้องทำคือตรวจสอบว่าชื่อที่ต้องการจดนั้นมีผู้จดไว้แล้วหรือยัง โดยเข้าไปใช้ บริการตรวจสอบโดเมนเนมที่ว่างอยู่ ( Domain Availability Search ) ของผู้ให้บริการรายใดก็ได้ โดยหากพบว่าโดเมนเนมดังกล่าวยังว่างอยู่ก็สามารถเริ่มกระบวนการจดได้ โดยปกติแล้วจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน เพื่อระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดเมนเนมที่จะจด (Registrant) โดยอาจเป็นชื่อของบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ จากนั้นก็ชำระค่าบริการให้แก่บริษัทผู้รับจด โดยวิธีการชำระเงินก็จะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้ให้บริการรับจดแต่ละราย

หลังจากที่ผู้ให้บริการรับจดได้รับเงินและเอกสารครบถ้วนแล้วก็จะทำการจดชื่อ โดเมนเนมให้ ซึ่งทันทีที่จด ข้อมูลต่างๆของโดเมนเนมนั้นก็จะถูก Update ไปยังฐานข้อมูลของระบบ Domain Availability Search ของผู้ให้บริการทั่วโลก ซึ่งถ้าลองตรวจสอบดูก็จะพบว่าความว่าโดเมนเนมนั้นได้ถูกจองไว้แล้ว (ในระบบการจดโดเมนเนมจะใช้หลัก First Come First Serve Basis ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ทำการจดทะเบียนก่อน ก็จะได้รับสิทธิความเป็นเจ้าของโดเมนเนมนั้นไป)

อย่างไรก็ดีจะยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโดเมนเนมดังกล่าวใครเป็นผู้ถือสิทธิ ความเป็นเจ้าของและจดทะเบียนไว้เป็นระยะเวลานานเท่าไร โดยจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-3 วันในการที่จะ Update ข้อมูลการลงทะเบียนจากบริษัทผู้รับจดไปยังระบบฐานข้อมูล WHOIS ต่างๆ ทั่วโลก (ปัจจุบัน NSI เป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบดูแลระบบฐานข้อมูลดังกล่าว) ซึ่งหลังจากกระบวนการดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดได้ผ่านทางระบบ WHOIS (ตามข้อเสนอของ IAHC ซึ่งกำหนดว่าจะไม่อนุญาตให้ทำการโอนย้ายโดเมนเนมที่จดไว้กับผู้ให้บริการราย หนึ่งไปยังรายอื่น หากการจดทะเบียนนั้นเพิ่งทำมาไม่เกิน 60 วัน (อยู่ในช่วง Voluntary Period) เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นได้รับทราบ และหากว่ามีการละเมิดหรือเกิดข้อพิพาทในชื่อโดเมนเนมดังกล่าวก็จะสามารถ ดำเนินการได้โดยตรวจสอบจากข้อมูลที่ปรากฎในระบบ WHOIS)

โดยสรุปแล้วทุกครั้งที่คุณจดโดเมนเนมเสร็จสิ้น อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลใน WHOIS เพื่อความมั่นใจว่าโดเมนเนมที่ได้จดไว้นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณจริงๆ

สรุปคือ คุณควรจะจดโดเมนกับผู้ให้บริการที่ยอมให้ใช้ชื่อคุณเป็นเจ้าของโดเมนจริงๆ

**ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
จดโดเมน